บ่อสร้างเสร็จแล้ว ปลาก็ประมูลจองไว้แล้ว.. เหลืออีกขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้การเลือกสี ดูหุ่นของเจ้าปลา ก็คือการเตรียมบ่อนั่นเอง !
ผมคิดว่าหลังจากที่นักเลี้ยงได้รับอนุมัติเงินจาก ผ.บ. ในการสร้างบ่อแล้ว บ่อก็สร้างเสร็จแล้ว!
การตื่นเต้นต่อจากนี้คือการปล่อยปลาลงบ่อ
แต่เดี๋ยววววววววว !!!
หลังจากสร้างเสร็จแล้วอย่าลืมว่า ปูนมีความเค็ม ดังนั้นเราต้องขจัดความเค็ม ซึ่งเป็นพิษต่อปลา ถ้าเราจ้างช่างต่อเติมบ้านมาสร้างบ่อหรือช่างที่ไม่เฉพาะทาง เขาก็จะแนะนำให้ตัดต้นกล้วยมาแช่บ่อ หรืออย่างแย่ผมเคยได้ยินมาเอาเกลือลงบ่อ !!!
ทั้ง 2 อย่างนี้ผมไม่แนะนำนะครับ ซึ่งการลดความเค็มของปูนนั้นทำได้ดีที่สุดคือ การสะเทิน ปูนเป็นเบส ต้องเอากรดมาลดความเป็นเบส ซึ่งได้ผลดีที่สุด หลังๆมานี้ฮิตคือ
การใส่น้ำส้มสายชู
ที่แบบว่ายกแกลอน ผมขอเน้นในที่นี้เลยครับว่าไม่ต้องคำนึงถึงยี่ห้อ เอาถูกเข้าว่า เพราะเราไม่ได้เอามากิน เราเอาแช่บ่อ
เอ้า ! มาเริ่มกันเลยครับ…
- เอาไม้ถูพื้นชุบน้ำส้มสายชู ถูตามผนังตามพื้นบ่อก่อน เพราะเป็นการลดความเค็มของปูนโดยตรง
- เติมน้ำให้เต็มบ่อ
- หลังจากนั้นก็เทน้ำส้มสายชูลงไปในบ่อ
ในอัตราส่วน น้ำส้มสายชู 2 ลิตร ต่อน้ำ 1 ตัน
ที่สำคัญ “ต้องเปิดปั๊มน้ำ” ให้ระบบได้หมุนเวียนไปทั่วทั้งบ่อรันระบบซัก 1 อาทิตย์
- แล้ววัดค่า pH ให้อยู่ประมาณ 7-7.5
- ปล่อยเวลาให้ผ่านไปสัก 2-3 วัน วัด ค่า pH อีกรอบว่าค่านิ่งอยู่ที่เดิมหรือเปล่า?
- ถ้าค่า pH นิ่งแล้ว ก็ดูดน้ำทิ้งให้หมด ขัดคราบที่ติดตามผนังพื้นบ่อออก
- แล้วเติมน้ำเต็ม รันระบบเปล่า 1-2 วัน
ขั้นตอนสุดท้ายคือ..
ปล่อยปลาได้เลยครับ ?
นอกจากน้ำส้มสายชูแล้ว ผมมีอีกทางเลือกหนึ่งมานำเสนอคือ “สารส้ม” ซื้อตามร้านวัสดุก่อสร้าง กิโลกรัมละ 10 บาท ยกเหมาถุงยิ่งถูก
ใส่อัตราส่วน 2-3 กิโลกรัมต่อตัน
เปิดรันระบบ 1 อาทิตย์ >>วัดค่า pH >> ดูดน้ำทิ้ง >> เติมน้ำใหม่ >> รันระบบเปล่า 1-2 วัน >> ปล่อยปลา
สุดท้ายนี้ยังไงผมขอเสนอ 2 ตัวเลือกนี้นะครับ น้ำส้มสายชู กับ สารส้ม ส่วนต้นกล้วยนั้น ไม่แนะนำเพราะเวลามันเน่านี่ ทั้งยุงทั้งเหม็น แถมตอนดูดออกนั้นจะหาที่ทิ้ง วิธีกำจัดยาก แต่ใครจะลองก็ได้นะครับ ไม่ว่ากัน แล้วอย่าลืมมาแชร์ให้ฟังด้วยนะครับ ^^
——————————————————–
มีคำถามเพิ่มเติมหรือพูดคุย เรื่องปลา ปลา..
เพิ่ม “หนอนบัณฑิต” เป็นเพื่อน กด Add Friends ได้เลยนะครับ 🙂